เมนู

ปฏิสนธิที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ย่อมไม่ได้ในวาระนี้.
[1167] 3. ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัย
แก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ 1 ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2
ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 1 ด้วยอำนาจของ
สหชาตปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ 1 ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ 2 ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 1
ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.

7. อัญญมัญญปัจจัย


[1168] 1. ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย ฯลฯ.


8. นิสสยปัจจัย


ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย ฯลฯ.

อัญญมัญญปัจจัยก็ดี นิสสยปัจจัยก็ดี เหมือนกับสหชาตปัจจัย.

9. อุปนิสสยปัจจัย


[1169] 1. ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ.
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
1. บุคคลอาศัยศรัทธาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาแล้ว ย่อมให้ทาน
สมาทานศีล การทำอุโบสถกรรม ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา, ยังฌานที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้เกิดขึ้น,
ยังสมาบัติให้เกิดขึ้นแล้ว, ก่อมานะ ถือทิฏฐิ.
2. บุคคลอาศัยศีลที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา อาศัยสุตะ จาคะ
ปัญญา ราคะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา อาศัยสุขสหคตกาย-
วิญญาณแล้ว ย่อมให้ทานด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ฯลฯ ยังสมาบัติให้
เกิดขึ้น.
ในธรรมหมวด 5 ที่มีศรัทธาเป็นต้น พึงเพิ่มคำว่า ก่อมานะ
ถือทิฏฐิ
เข้าด้วย ส่วนหมวดที่เหลือไม่ต้องเพิ่ม.
3. บุคคลถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ พูดเท็จ พูดส่อเสียด
พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่เหลือ ปล้นในเรือนหลังหนึ่ง ยืนดัก
ในทางเปลี่ยว คบทาภรรยาของชายอื่น ฆ่าชาวบ้าน ฆ่าชาวนิคม ด้วยจิตที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนา.
4. ศรัทธาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ราคะ
โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สุขสหคตกาย-
วิญญาณเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ราคะ โมหะ มานะ
ทิฏฐิ ความปรารถนา ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา, แก่สุขสหคตกายวิญญาณ แก่
ขันธ์ทั้งหลาย ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

[1170] 2. ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
1. บุคคลอาศัยศรัทธาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาแล้ว ยังตนให้เดือด
ร้อน ให้เร่าร้อน เสวยทุกข์อันมีการแสวงหาเป็นมูล.
2. บุคคลอาศัยศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
แล้ว ยังตนให้เดือดร้อน ให้เร่าร้อน เสวยทุกข์อันมีการแสวงหาเป็นมูล.
3. บุคคลอาศัยราคะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนาที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนา อาศัยสุขสหคตกายวิญญาณแล้ว ฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของ
ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูด
คำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่มีส่วนเหลือ ปล้นในเรือนหลังหนึ่ง
ยืนดักในทางเปลี่ยว คบหาภรรยาของชายอื่น ฆ่าชาวบ้าน ฆ่าชาวนิคม ฆ่า
มารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ยังพระโลหิตพระตถาคตให้ห้อ ด้วยจิต
ประทุษร้ายแล้ว ทำลายสงฆ์ไห้แตกกัน.
4. ศรัทธาอันสัมปยุตด้วยสุขเวทนา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา
ราคะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สุขสหคต-
กายวิญญาณ เป็นปัจจัยแก่โทสะ ฯลฯ แก่โมหะ แก่ทุกขสหคตกายวิญญาณ
แก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
[1171] 3. ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่
ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่างคือ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
1. บุคคลอาศัยศรัทธาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ให้ทาน สมาทาน
ศีล กระทำอุโบสถกรรม ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาแล้ว ย่อมยังฌาน
อันสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น, ยังมรรค
ให้เกิดขึ้น, ยังอภิญญาให้เกิดขึ้น, ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น, ก่อมานะ, ถือทิฏฐิ.
2. บุคคลอาศัยศีลที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา อาศัยสุตะ จาคะ
ปัญญา ราคะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา อาศัย
สุขสหคตกายวิญญาณแล้ว ย่อมให้ทานด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น, ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วย
อทุกขมสุขเวทนา, พูดเท็จ, พูดส่อเสียด, พูดคำหยาบ, พูดเพ้อเจ้อ, ตัดที่ต่อ,
ปล้นไม่มีส่วนเหลือ, ปล้นในเรือนหลังหนึ่ง, ยืนดักอยู่ในทางเปลี่ยว, คบหา
ภรรยาของชายอื่น, ฆ่าชาวบ้าน, ฆ่าชาวนิคม.
3. ศรัทธาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ราคะ
โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สุขสหคตกาย-
วิญญาณเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา, แก่ศีล, สุตะ,
จาคะ, ปัญญา, ราคะ, โมหะ, มานะ ทิฏฐิ, ความปรารถนา, แก่สุขสหคต-
กายวิญญาณ, แก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย.
[1172] 4. ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นปัจจัยแก่
ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือ ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
1. บุคคลอาศัยโทสะ แล้วย่อมฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของ
มิได้ให้ ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ฯลฯ ย่อมทำลายสงฆ์ให้แตกกัน.
2. บุคคลอาศัยโมหะ ทุกขสหคตกายวิญญาณแล้ว ย่อมฆ่าสัตว์
ย่อมถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ฯลฯ
ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน.
3. โทสะ โมหะ ทุกขสหคตกายวิญญาณ เป็นปัจจัยแก่โทสะ
โมหะ ทุกขสหคตกายวิญญาณ แก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
[1173] 5. ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นปัจจัยแก่
ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
1. บุคคลอาศัยโทสะ แล้วย่อมให้ทานด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุข-
เวทนา ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยจิตที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม.
2. อาศัยโมหะ อาศัยทุกขสหคตกายวิญญาณ แล้วย่อมให้ทาน
ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม.
3. โทสะ โมหะ ทุกขสหคตกายวิญญาณ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา
ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ฯลฯ แก่สุขสหคตกายวิญญาณ แก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

[1174] 6. ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นปัจจัยแก่
ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือ ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
1. บุคคลอาศัยโทสะ แล้วย่อมให้ทานด้วยจิตที่สัมปยุตด้วย
อทุกขมสุขเวทนา ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม.
2. อาศัยโมหะ ทุกขสหคตกายวิญญาณ แล้วย่อมให้ทานด้วย
จิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม.
3. โทสะ โมหะ ทุกขสหคตกายวิญญาณ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา
ฯลฯ ความปรารถนาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุต
ด้วยอทุกขมสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
[1175] 7. ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัย
แก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสย-
ปัจจัย

มี 3 อย่างคือ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
1. บุคคลอาศัยศรัทธาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาแล้ว ย่อม
ให้ทาน ฯลฯ ถือทิฏฐิ อาศัยศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ราคะ โมหะ มานะ
ทิฏฐิ ความปรารถนาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาแล้ว ย่อมให้ทานด้วย
จิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ถือเอาสิ่งของ
ที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม.

2. ศรัทธาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา
ราคะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่สัมปยุต
ด้วยอทุกขมสุขเวทนา ฯลฯ แก่ความปรารถนา แก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่สัมปยุตด้วย
อทุกขมสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
[1176] 8. ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัย
แก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่
1. บุคคลอาศัยศรัทธาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาแล้ว ให้
ทานด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ฯลฯ ก่อมานะ ถือทิฏฐิ.
2. บุคคลอาศัยศีลที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ฯลฯ อาศัยความ
ปรารถนาแล้ว ให้ทานด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น
ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม.
3. ศรัทธา ฯลฯ ความปรารถนาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
สุขสหคตกายวิญญาณ เป็นปัจจัยแก่ความปรารถนาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
แก่สุขสหคตกายวิญญาณ แก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
[1177] 9. ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัย
แก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือ ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

1. บุคคลอาศัยศรัทธาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาแล้ว ยังคน
ให้เดือดร้อน ให้เร่าร้อน เสวยทุกข์ อันมีการแสวงหาเป็นมูล.
2. บุคคลอาศัยศีลที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ฯลฯ อาศัย
ความปรารถนาแล้ว ย่อมฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยจิตที่
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ฯลฯ ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน.
3. ศรัทธา ฯลฯ ความปรารถนา ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
เป็นปัจจัยแก่ โทสะ โมหะ ทุกขสหคตกายวิญญาณ แก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่
สมปยุตด้วยทุกขเวทนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

10. อาเสวนปัจจัย1


[1178] 1. ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่
ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย

คือ 1. ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.
2. อนุโลมญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่โคตรภู.
3. อนุโลมญาณ เป็นปัจจัยแก่โวทาน.
4. โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค.
5. โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.
[1179] 2. ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นปัจจัยแก่
ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย

1. ปุเรชาตปัจจัยและปัจฉาชาตปัจจัย แสดงโดยเวทนาติกะไม่ได้